วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 17 ก.ค. 2554 ตอนที่ 1 บริการสอนการใช้

บริการสอนการใช้ (Instructional Service)
ครูสอนการใช้โปรแกรมกับนักเรียน
ที่มาภาพ : http://www.princess-it.org/archive/detailshow.php?photoid=20050527193509
              บริการสอนการใช้ห้องสมุด เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญของบรรณารักษ์ ที่จะต้องสอนให้ผู้ใช้ห้องสมุดให้รู้จักใช้ห้องสมุดได้ด้วยตนเอง คือให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด ใช้บริการต่างๆ ของห้องสมุด ใช้หนังสืออ้างอิง ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบทั้งหนังสือ วารสาร จุลสาร เอกสาร กฤตภาค ฐานข้อมูล และอื่นๆ  ตลอดจนรู้จักใช้เครื่องมือ/คู่มือ ในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยต่างๆ  ที่ห้องสมุดจัดหาไว้บริการให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด ทั้งนี้การสอนการใช้ห้องสมุดจะทำให้ผู้ใช้คุ้นเคยกับวัสดุสารสนเทศต่างๆ ในห้องสมุด ผู้ใช้มีทักษะในการที่จะแสวงหาสารสนเทศตามความต้องการได้อย่างอิสระเสรี 

งานบริการอ้างอิง และสารสนเทศ (Reference and Information Services) ?
  1. บริการสารสนเทศ (Information services) ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ ยืมระหว่างห้องสมุด จัดส่งเอกสาร ข่าวสารทันสมัย
  2. บริการสอนการใช้ (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์  การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)
  3. บริการแนะนำ (Guidance services) มีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่แตกต่างกันที่ เน้นการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง มากกว่าสอนการใช้
ความสำคัญ (Important) ?
"หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภทคือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัด     การสารสนเทศ...การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ"

ปรัชญาการบริการ (Philosophy) ?
"ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)"

พัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Evolution) ?
1.การเพิ่มขึ้นของสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในสังคมอย่างกว้างขวาง
  • รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้สารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ  
  • ทำให้บุคคลต้องเผชิญกับทางเลือกสารสนเทศที่หลากหลาย และมากมาย  
2.จึงมีความจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับประเมิน เลือก และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มทักษะใหม่ เช่น 
  • ทักษะในการแสวงหา 
  • การเข้าถึง สารสนเทศ 
ความสำคัญของ  IL ?
  • สารสนเทศที่มีในปัจจุบัน 295 exabytes (พันล้านกิกะไบต์)
  • มีจำนวนที่มากกว่า 315 เท่าของจำนวนทรายที่มีในโลก
  • ในปี 2007  จำนวนร้อยละ  94 สารสนเทศบันทึกอยู่ใน รูปแบบดิจิทัล
  • ในปี 2007 มีการสื่อสารสารสนเทศ จำนวน 1.9 zettabytes ผ่านระบบสื่อสารมวลชน เช่น  โทรทัศน์ และ GPS  เทียบได้กับที่คนในโลกนี้อ่านหนังสือพิมพ์วันละ 174 ฉบับ
  • การสื่อสารโทรคมนาคมมีอัตราการเติบโตร้อยละ 28  ในขณะที่ความสามารถในการจัดเก็บเติบโตร้อยละ 23 ต่อปี
เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาบนอินเทอร์เน็ต (search engine) ?
สัดส่วนของผู้ใช้า (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%


นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน

ที่มาภาพ : http://www.cins.org.rs/?p=367
ความหมายของการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ?
     การที่บุคคลได้รับการฝึกให้สามารถประยุกต์สารสนเทศมาใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลในด้านเทคนิคการใช้เครื่องมือใน การเข้าถึง การรุบุแหล่งที่มา หรือค้นหาข้อมูล สามารถประเมิน  และสามารถสังเคราะห์สารสนเทศมาใช้ได้ตามความต้องการ 

ความสำคัญ การรู้สารสนเทศ (Important of Information Literacy) ?
            ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่  นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาประเทศสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ในสังคมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การปฎิรูปการศึกษา (Reform) ?
              ปัจจุบันสังคมไม่ใช่เป็นเพียงแค่สังคมข่าวสารแต่ต้องเป็น  “สังคมแห่งการเรียนรู้” การพัฒนา “คน” ให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้น โดยจะต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด (Self  Learning)  วิเคราะห์  การแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงสภาพเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ (Learning  Center)  

ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะในด้านสารสนเทศ ดังนี้ ?


  • มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
  • มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
  • มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาณ
  • มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศกล่าวคือสามารถในการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
  • มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์ การรู้เทคโนโลยีและการสื่อสาร
ความรู้ยุคดิจิทัลประกอบด้วย ทักษะดังนี้ ?
ยุคดิจิทัล
ที่มาภาพ : http://www.northeducation.ac.th/elearning/main/instructor.php

  • Basic literacy  มีความรู้ ทักษะด้านภาษา ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูด และการฟัง
  • Visual literacy  มีความรู้เรื่องสื่อภาพ เสียง เพื่อความสามารถในกรสื่อสารยุคสารสนเทศ
  • Media literacy  เข้าใจรูปแบบการเสนอสื่อ การวิเคราะห์
  • Digital literacy  มีความรู้เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้เครือข่ายและสามารถประยุกต์การใช้งาน
  • Network literacy  
  • Cultural literacy  มีความรู้ การเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ (Promotion of information literacy)?
              ห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ บรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศ หรือร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในการบูรณาการการสอนการรู้สารสนเทศในรายวิชาต่าง ๆ

เป้าหมายของการบริการสอนการใช้ห้องสมุด (Objective) ?
  • สามารถทำให้ผู้ใช้เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ 
  • สามารถนำความต้องการของสารสนเทศไปสร้างคำถาม คำหลัก และพัฒนากลยุทธ์การสืบค้นได้ 
  • ผู้ใช้สามารถเลือก และสามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการได้รวมถึงมีความสามารถในการประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ 
  • ผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศมาพัฒนาองค์ความรู้เดิมและประยุกต์ใช้กับงานในสถานการณ์ต่างๆได้


http://www.clickmedesign.com/article/search-engine.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น