วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 23 ก.ค. 2554 ตอนที่ 1 สัมมนาวิชาการ

สัมมนาวิชาการเรื่อง บริการใหม่ ๆ (New Service)

อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
ที่มาภาพ : http://profile.ak.fbcdn.net/hprofile-ak-snc4/260912_1291930198_3814181_n.jpg
              สัปดาห์ไม่มีการเรียนการสอนแต่มีการสัมมนาวิชาการเรื่องการบริการใหม่ ๆ นี้ได้รับเกรียติจาก อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ ซึ่งก็ได้ความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในงานห้องสมุดว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร อะไรกำลังเป็นที่นิยมอยู่ปัจจุบันนี้ และในอนาคตจะมีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ เข้ามาอีก รวมถึงมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในห้องสมุดว่าต้องเป็นอย่างไร โดยมีการบรรยายทั้งหมด 7 หัวข้อได้แก่
  • Cloud Computing
  • Mobile Device
  • Digital Content & Publishing, eBook, IR, Digital Library
  • Crosswalk Metadata
  • Open Technology
  • Data & Information mining / Visualization
  • Green Library

1. เทคโนโลยี Cloud Computing 
  • มิติที่ 1 ที่ตั้ง : การให้บริการคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถระบุที่ตั้งที่ให้บริการได้ว่าอยู่ที่ไหนผ่านระบบเครือข่าย 
  • มิติที่ 2 กลุ่มก้อน : ผู้ให้บริการจะกระจายไปในแต่ละแห่งทั่วโลก ก็คือมีเครื่องที่ให้บริการหลายแห่งให้บริการพร้อมกันโดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นตัวขับเคลื่อน
ประเภทของ Cloud Computing
  • แยกตามกลุ่มผู้ใช้
           - Cloud ระดับองค์กร........Cloud Library
           - Cloud ระดับบุคลคล / บริการ........Gmail, Facebook, Meebo
           - Cloud ผสมผสาน........Dropbox
  • แยกตามการให้บริการ
           - Public Cloud
           - Private Cloud
           - Hybrid Cloud 
  • แยกตามประเภทของเทคโนโลยี
           - SaaS - Software as a Service : แทน Microsoft office เช่น docs.google.com
           - IaaS - Infrastructure as a Service : Web hosting
           - Pass - Platform as a Service
ลักษณะของ Cloud Computing
ที่มาภาพ : http://digitizor.com/2011/05/09/cloud-computing-an-insight-know-your-clouds/

2. Mobile Device
              ปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือออกมามากมายก่อนที่จะทำการพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ควรที่จะรู้ก่อนว่าคนส่วนใหญ่ใช้มือถือรุ่นอะไรบ้างจะได้ออกแบบ และพัฒนาได้ตรงตามกับเทคโนโลยีที่กลุ่มเป้าหมายนั้นใช้อยู่เช่นการพัฒนาเว็บไซต์ที่มีการใช้เฟลชเป็นแอพพลิเคชันบนมือถือก็ต้องดูว่ามือถือรุ่นนั้น ๆ รองรับเฟลชด้วยหรือไม่ แนะนำเว็บไซต์ที่เก็บรวบรวมสถิติการใช้งานมือถือไว้ได้แก่ truehit.net
  • Smart Phone : Java, Debian
  • Tablet : Android
  • eReader : ios
  • NetBook : windows
Mobile Device
ที่มาภาพ : http://www.deakin.edu.au/current-students/it-support/email/mobile/index.php

3. Digital Content & Publishing, eBook, IR, Digital Library
              เทคโนโลยี Cloud Computing ,Digital Content & Publishing, eBook, IR, Digital Library สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีงบประมาณน้อยลง ตัวอย่างเช่น การซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาใช้งานเป็นของตัวเองต้องใช้งบประมาณสูงมาก เพราะเครื่องเซิร์ฟเวอร์มีราคาแพงมาก อีกตัวอย่างหนึ่งคือการเปลี่ยนหนังสือธรรมดาให้เป็น eBook ทำให้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และยังสามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย แนะนำเว็บไซต์ eBook >>>คลิกเลย รูปแบบของ eBook เช่น .doc, pdf, Flip eBook, ePublishing, และ .ePub, Digital Multimedia Book
eBook การศึกษาไร้พรมแดน
ที่มาภาพ : http://variety.mcot.net/V3928

4. Crosswalk Metadata
เป็น Metadata ที่บุคลากรสายบรรณารักษ์ควรที่จะรู้ไว้ ได้แก่
  • MARC
  • MARCML
  • DublinCore
  • ISAD(g)
  • CDWA
  • RDF
  • OWL
  • MODS
  • METS
  • PDF Metadata
  • DOC
  • EXIF
  • XMP
  • IPTC

5. Open Technology
              ยุคนี้เป็นยุคของ Web 2.0 แต่ในอนาคตจะเป็นยุคของ Web 3.0 แล้ว หรือ Semantic Web 
คือเทคโนโลยีหรือแนวความคิดที่จะ เชื่อมโยงข้อมูลใน web ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันทั้งภายใน web หรือภายในเครือข่ายของโลก ซึ่งมองไปแล้วมันก็คือฐานข้อมูลของโลกเลยก็ว่าได้ แต่ก็เป็นแนวคิดที่จะทำให้หาข้อมูล ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
มาตรฐาน
  • Z39.5 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS........ILS<-->LIS
  • Z39.88 : การเพิ่มลำดับเว็บไซต์ หรือการจัดลำดับเว็บไซต์ ILS<--->Apps
ลักษณะของ Web 1.0 2.0 และ3.0
ที่มาภาพ : http://nanosofttech.com/index.php?topic=671.0

6. Data & Information mining / Visualization
               ปัจจุบันข้อมูลถูกนำไปจัดเก็บบนฐานข้อมูลออนไลน์แล้ว (Online database) มีประโยชน์ในการแบ่งปันความรู้เป็นอย่างมากเพราะสามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายออนไลน์ แต่มีข้อเสียตรงที่บางทีข้อมูลส่วนตัวของเราไม่มีความเป็นส่วนตัวเพราะทางเจ้าของเว็บไซต์ที่ให้บริการมักจะเก็บข้อมูลส่วนตัวของเราไว้เพื่อประโยชน์ในการติดตามดูว่าเราทำอะไรบ้าง เช่น ใครที่เป็นสมาชิกของ google หรือ facebook จะเก็บประวัติการใช้งานของเราไว้โดยที่เราไม่รู้ตัวเลย

Touch graph ของ facebook

7. Green Library
                Green Library หรือห้องสมุดสีเขียวเป็นสิ่งที่ห้องสมุดควรจะทำเป็นอย่างมากเพราะจะช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และรักษาโลกของเราไว้ในประเทศไทยก็เริ่มมีห้องสมุดที่พยามยามทำให้เป็นห้องสมุดสีเขียวบางแล้ว สนใจข้อมูลเพิ่มเติม >>>คลิกเลย
Cardiff library
ที่มาภาพ : http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/wales/7929177.stm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น