วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 19 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 1) การบริการห้องสมุด

งานบริการห้องสมุด (Library Services)

ชั้นวางหนังสือ

              ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วัสดุเทป และโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD รวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความสะดวกสืบค้นได้ง่ายตรงกับความต้องการ ห้องสมุดในปัจจุบันทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหา และดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุดห้องสมุด 

ความหมายของงานบริการห้องสุมด (Meaning of Library Service)  ?
         งานบริการห้องสมุด คืองานที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการเริ่มจาก  การจัดสถานที่ให้สวยงามการสร้างบรรยากาศให้ดูน่าสนใจ  ชั้นวางหนังสือเป็นระเบียบ หนังสือไม่ฉีกขาด เพื่อเป็นการดึงดูดให้ผู้ใช้บริการสนใจเข้าใช้ห้องสมุด และอาจมีการจัดบริการด้านต่างๆ อีก เช่น งานบริการยืม-คืน บริการตอบคำถาม และช่วยค้นหา บริการแนะนำการอ่าน และบริการจัดคู่มือการใช้ห้องสมุด เป็นต้น
             การบริการของห้องสมุดในอนาคตจะเป็นการให้บริการด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง    จะมีการเพิ่มทรัพยากรสารสนเทศที่มาจากการรับเป็นสมาชิกของวารสาร และเว็บไซต์ นอกจากนี้จะมีการให้บริการสารสนเทศบนเว็บบล็อค (Web Blogs) และวิกิพีเดีย (Wikipedia)  รวมถึงการเพิ่มขึ้นในการเข้ามาใช้ห้องสมุดจากระยะไกล เนื่องจากผู้ใช้มีอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ตลอดเวลา

งานห้องสมุด (Library)  ?
  • งานบริหาร (Adinistration function) : ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย และควบคุมดูแลการทำงานของห้องสมุด ให้สอดคล้องกับนโยบายของสถาบันการศึกษา รวมทั้งกำหนดกฎระเบียบเพื่อให้งานของห้องสมุดบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
  • งานเทคนิค (Technical function) : เป็นงานที่ดำเนินงานอยู่เบื้องหลังการนำมาให้บริการห้องสมุด ผู้ปฎิบัติงานมักจะไม่มีการพบปะกับผู้ใช้ ซึ่งอาจจะต้องมีความรู้ด้านบรรณารักษ์ และสารสนเทศศาสตร์ในการปฏิบัติงาน
  • งานบริการ (Servince function) : เป็นงานที่จะพบปะกับผู้ใช้โดยตรงเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการเข้าถึง และได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ประกอบด้วยงานบริการพื้นฐาน และบริการพิเศษอื่น ๆ รวมถึงงานกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ อภิปาย โต้วาที เป็นต้น
  • งานบริการอื่น ๆ ได้แก่ หน่วยงานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมต่างๆ และระบบความปลอดภัย และหน่วยงานฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ทำหน้าที่ในการผลิต และให้บริการสื่อการศึกษาการศึกษา

ความสำคัญของบริการห้องสมุด (Importance of Library Services)  ?
  • เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด : ช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ห้องสมุด และสร้างความนิยมชมชอบ ช่วยให้ห้องสมุดก้าวหน้าด้วยความมั่นคง
  • ส่งเสริมสนุนในด้านการศึกษา : ห้องสมุดมีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น สามารถแบ่งห้องสมุดออกได้ 5 ประเภทได้แก่
          1.ห้องสมุดโรงเรียน
          2.ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
          3.ห้องสมุดประชาชน
          4.ห้องสมุดเฉพาะ
          5.ห้องสมุดแห่งชาติ
  • ในด้านเศรษฐกิจ : ช่วยประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายส่วนที่นำไปซื้อหนังสือจะได้นำไปใช้สอยในด้านอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่
  • ในทางวัฒนธรรม : ใช้ห้องสมุดในการจัดนิทรรศการเพื่อรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณีขนบธรรมเนียมดังนั้นการจัดการบริการห้องสมุดจึงมักต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม  
  • การเมือง และการปกครอง :  ห้องสมุดต้องเป็นกลางเพราะประชาชนมีสิทธิ์ที่จะรู้ทุกอย่างที่อยากจะรู้ ห้องสมุดควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น จัดสัมมนา อภิปาย และฉายภาพยนต์ เป็นต้น

ประเภทงานบริการห้องสมุด (Type of Library Services)  ?
      ประเภทของงานบริการห้องสมุดสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่
      1. บริการพื้นฐาน ได้แก่ บริการผู้อ่าน และบริการยืม-คืน อาจมีการเพิ่มบริการตอบคำถามเข้าไปด้วย
      2. บริการอ้างอิง  และสารสนเทศ  ได้แก่  บริการสารสนเทศ บริการสอนการใช้ และบริการแนะนำ การบริการเหล่านี้จะช่วยแสวงหาข้อมูล สอนผู้ใช้ และให้การแนะนำผู้ใช้ เพื่อให้สามารถใช้สารสนเทศได้ถูกต้อง
      3. บริการเฉพาะกลุ่ม ได้แก่  กลุ่มด้อยโอกาส เด็ก วันรุ่น และผู้สูงอายุ

                 
                           ห้องสมุดสำหรับเด็ก                             ห้องสมุดสำหรับผู้สูงอายุ

                     
                           ห้องสมุดสำหรับวัยรุ่น                        ห้องสมุดสำหรับผู้ด้อยโอกาส


ที่มาภาพบริการห้องสมุดสำหรับเด็ก >> 
http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=301E9A14DE2FB96A8C389631973BF35B
ที่มาภาพบริการห้องสมุดสำผู้สูงอายุ >>
ที่มาภาพบริการห้องสมุดสำหรับวัยรุ่น >>
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=127721
ที่มาภาพบริการห้องสมุดสำหรับผู้ด้อยโอกาส >>
http://www.libraryhub.in.th/2009/07/15/recommend-librarian-training-place/

ลิงค์อื่นๆ >>
อ่านต่อบทความเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่อาคารห้องสมุด (Library Building) >>>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น