วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 26 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 2) ค่าปรับ

ค่าปรับ(Penalty)
ห้องสมุดเคลื่อนที่ สานซี ประเทศจีน
              
              การกำหนดค่าปรับของแต่ละห้องสมุด จะมีหลักเกณฑ์ ที่แตกต่างกัน ตามนโยบายของห้องสมุด  ในที่นี้จะกล่าวถึงการกำหนดค่าปรับทั่วไป  คือ  การกำหนดค่าปรับของสารสนเทศประเภทต่างๆ จะมีความแตกต่างกัน  , ค่าปรับการยืมระยะสั้นและการยืมระยะยาว จะแตกต่างกัน     และทางห้องสมุดควรส่งเอกสารเตือนวันส่งล่วงหน้า นอกจากนี้ในการออกกฎระเบียบในการปฏิบัติการต้องมีการเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ด้วย

ทำไมต้องมีค่าปรับ (Why) ?
  • ต้องการกระจายการเข้าถึงสารสนเทศแก่ผู้ใช้อื่น  เนื่องจากการยืมสารสนเทศนั้น ผู้ใช้บริการสามารถยืมได้เป็นเวลานาน และหากไม่มีการปรับ ผู้ที่ยืมสารสนเทศไปก่อน ก็จะไม่คืนหนังสือตามกำหนด และทำให้ผู้ใช้บริการคนอื่นไม่สามารถทำการ ยืมหนังสือเล่มนั้นได้  
  • สร้างการมีความรับผิดชอบแก่ผู้ใช้บริการ  เพราะผู้ใช้บริการเองจะสามารถตระหนักได้ว่า วันนี้เป็นวันที่ต้อง คืนหนังสือ เพราะหากไม่นำหนังสือไปคืน ก็จะถูกปรับ   
  • วัตถุประสงค์หลักในการปรับ คือ เพื่อกระตุ้นผู้ใช้ให้ส่งคืนหนังสือตามกำหน
การจัดการปัญหาในการปรับ (Management problems in Adjustment) ? 
  • ห้องสมุดควรมีการยกเว้น (Amnesty Program)
  • มีการผ่อนผัน (Grace period)
  • ยกเลิกความเป็นสมาชิก หรือ ยกเลิกสิทธิ์การยืม  ในกรณี ไม่มีการส่งคืน และไม่จ่ายค่าปรับ
  • ใช้บริการบริษัทติดตามจากบริษัทที่ให้บริการติดตาม *ไม่นิยม
  • ระงับการออก transcript กรณีไม่ส่งคืนสารสนเทศ และไม่จ่ายค่าปรับ
  • Grace period กำหนดค่าปรับเป็นจำนวนที่กำหนด มีการยืดหยุ่น
  • ไม่อนุญาตให้ยืม สารสนเทศ หากค้างค่าปรับ เกิน 300 บาท
  • ห้องสมุดจัดทำประกาศแจ้งเตือน ขอความร่วมมือ
  • ห้องสมุด ประกาศเตือน ก่อนดำเนินการใด ๆ เช่น ในการจำกัดสิทธิ์
  • ปรับให้น้อยที่สุดเพื่อกระตุ้น ไม่ได้เพื่อกำไรเข้าห้องสมุด
  • ให้กำหนดการชำระเป็นช่วงๆ เช่น มกราคม-มิถุนายน ไม่ใช่กำหนดเป็นวันๆ
การจ่ายค่าปรับ (Payment) ?
  • จ่ายที่บริการยืม-คืน
  • ผ่านระบบอัตโนมัติ
  • เปิดให้มีการผ่อนผัน
ค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม (Fee) ?
              มีคำถามว่าทำไมห้องสมุดต้องเก็บค่าสมาชิก หรือค่าธรรมเนียม เพราะว่าทางห้องสมุดต้องใช้เป็นงบประมาณในการปรับปรุงหนังสือ เพราะการให้บริการ ยืม-คืน เสี่ยงต่อการ ชำรุด เสียหายของสารสนเทศ เช่น ผู้ใช้บริการยืมหนังสือไป และทำหนังสือชำรุด เสียหาย หรือ สูญหาย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น