วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 26 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 3) เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในการบริการยืม-คืน

เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในการบริการยืม-คืน (Technology)
ห้องสมุดโรงเรียน

              การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานห้องสมุดมีความจำเป็นเพื่อสามารถให้บริการ และบริหารงานห้องสมุดเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยมีบรรณารักษ์ซึ่งมีความรู้ทางด้านบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์เป็นผู้ดำเนินงาน จัดบริการ และบริหารงานต่างๆ  ผู้ใช้บริการห้องสมุดมีความต้องการที่เปลี่ยนไป จากที่เข้าเพื่อสืบค้นหนังสือ และยืมออกไป ี่เข้ามา่เข้ามาเพื่อสืบค้นหนังสือและยืมคืนก็เปลี่ยนเป็นสืบค้นจากที่ใดๆ และะก็เปลี่ยนเป็นสืบค้นจากที่ใดๆ และเข้าไปอ่านข้อมูลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ควรจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่สนใจได้ง่าย

โอเพนซอร์ซ (Open Sources) ?
              โอเพนซอร์ซ หรือโอเพนซอร์ส (Open Source) คือการพัฒนาระบบทางคอมพิวเตอร์ด้วยความสร้างสรรค์โดยที่ผู้ที่คิดค้นไม่ถือเอาสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการพัฒนาระบบนั้นๆ พร้อมทั้งเปิดเผยแหล่งต้นกำเนิดของระบบนั้น สนใจอ่านต่อ >>>

เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในการบริการยืม-คืน (Technology) ?
1.เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode) : ใช้ในงานบริการ ยืม-คืน ทั่วไป  งานทะเบียนผู้ใช้( บัตรผู้ใช้ )   เลขเรียกหนังสือ  ชื่อหนังสือที่ติดบนปกหนัง สนใจอ่านต่อ >>>

ตัวอย่าง Barcode
ที่มาภาพ : http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/barcode2a.gif

2.คิวอาร์โค๊ด ( QR Code or 2D Barcode) : QR Code หรือ 2D Barcode หรือ two-dimensional bar code ก็คือรหัสชนิดหนึ่ง ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ชื่อ Denso-Wave และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code ไปแล้วทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลก ทำให้เรามักจะเรียกว่า 2D Bar Code กันแทนเพื่อเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า QR Code นั้น ได้ถูกนิยามความหมายว่าเป็น Quick Response หรือการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งมาจากความตั้งใจของผู้คิดค้น ที่จะให้ QR Code นี้สามารถถูกอ่านได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งตัวสัญลักษณ์ QR Code นี้ได้รับความนิยม จนกลายเป็นของธรรมดาในญี่ปุ่นไปแล้ว สนใจอ่านต่อ >>>

ตัวอย่าง QR Code

3.เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ( Radio Frequency Identify – RFID) : ห้องสมุดได้ลองนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้นำร่องกับระบบห้องสมุด เพียงติดชิพอาร์เอฟไอดีไว้ที่หนังสือในห้องสมุด แล้วใส่ข้อมูลต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้นๆ ไว้ในชิพ อย่างเช่น ข้อมูลชื่อหนังสือ ประเภทหนังสือ ชั้นที่เก็บหนังสือ และติดเครื่องอ่านไว้ตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งการนำเอาอาร์เอฟไอดีมาใช้กับระบบห้องสมุดนี้ โดยอาร์เอฟไอดี จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ดูแลและผู้ที่มาใช้บริการห้องสมุด สนใจอ่านต่อ >>>

ตัวอย่าง RFID

ที่มาภาพ : http://blog.spu.ac.th/home/blog_data/843/843/images/read/tag.jpg


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น