วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 26 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 1) บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ

Circulation Service
หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่มาภาพ : http://library.cmu.ac.th/cmul/

              Circulation Service ก็คือบริการยืม-คืน หรือบริการจ่าย-รับ เป็นบริการที่จัดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ มีหน้าที่รับผิดชอบคือการให้บริการยืม รับคืน จอง บริการยืมต่อ ตรวจสอบข้อมูลการยืม-คืน การจัดการระเบียนสมาชิก และการให้บริการทำบัตรสมาชิก การต่ออายุสมาชิก การติดตามทวงถามหนี้สิน บริการตรวจสอบ และรับรองการปลอดหนี้สิน (กรณีนักศึกษาลาพัก/ลาออก/จบการศึกษา) การเก็บเงินค่าปรับ และค่าธรรมเนียมต่างๆ

เป้าหมายหลัก (Goal) ?
  • เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
  • สามารถนำไปใช้ค้นคว้านอกสถาบันได้
ปรัชญาการบริการยืม-คืน (Philosophy) ?
  • ให้ความเท่าเทียมเทียม และเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
  • กำหนดนโยบาย และระเบียบโดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด
บรรณารักษ์ควรติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด เช่นการนำห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาใช้

บทบาทหน้าที่ (Functions) ?
  • การควบคุมงานบริการยืม-คืน : เป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมีในห้องสมุดสมัยใหม่ มีเป้าหมายคือผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้รับบริการเท่าเทียม และตอบสนองความต้องการมีสารสนเทศไว้ในมือ
  • ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด : เป็นจุดบริการแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็นความประทับใจจากความช่วยเหลือ และบริการที่ได้รับจึงมีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้ อาจเป็นสิ่งที่ตัดสินคุณภาพในการบริการได้เลย
  • ห้องสมุดที่มีการยืม-คืนด้วยตัวเอง (Self check out/in) : มักจะมีโต๊ะประชาสัมพันธ์เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้บริการ แต่ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขาดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ใช้บริการกับบุคลากรห้องสมุดได้
การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) ?
  • จุดที่มีการบริการทั้งหมด ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ
  • ผู้ใช้คาดหวังว่าเจ้าหน้าที่ห้องสมุดทราบทุกๆ เรื่อง
สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจ (Dissatisfaction) ?
  • หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ
  • ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดส่ง
  • ระยะยืมสั้น
  • จำกัดครั้งการยืม
  • ค่าปรับ
  • เสียงรบกวน
  • ไม่พอใจกับการรับบริการจากบรรณารักษ์
  • ร้อน หรือเย็นเกินไป
  • อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทำงาน
  • กลิ่น
การจัดการ (Management) ?
1. การจัดการห้องสมุด
  • ห้องสมุดขนาดเล็ก : บรรณารักษ์ดูแลงาน เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบาย ขั้นตอนการดำเนินงาน กฎระเบียบ และแนะนำดูการทำงาน
  • ห้องสมุดขนาดใหญ่ : มีหัวหน้าแผนก (Department Head) ดูแลบรรณรักษ์โดยบรรณารักษ์จะดูแลงานด้านการจัดการ
  • ห้องสมุดขนาดใหญ่มาก : จะมีหัวหน้างาน (Circulation Chief) ดูแลภายใต้การควบคุมของผู้ช่วยบรรณารักษ์ (Assistant Librarian) และหัวหน้าบรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่ดูแล (Division Supervisor)
2.การจัดการบุคลากร
  • ต้องมี staff หรือบรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์ สำคัญที่มีความรู้เหมือนกันแต่อยู่ที่วิธีการถ่ายทอด
  • มีการทำงานกลางคืน ทำงานวันเสาร์ *ต่างประเทศมีการเปิด 24 ชั่วโมง
  • ต้องจัดคนให้เหมาะสมกับงาน
ความรู้ และทักษะที่ต้องการ (Knowledge and skills) ?
  • มีใจรักงาน มีความอดทนสูง เพราะผู้ใช้บริการมีลักษณะแตกต่างกัน
  • มีความรู้ที่เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ เพราะผู้ใช้คาดหวังว่าบรรณารักษ์จะต้องรู้
  • ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ สำคัญมากเพราะเป็นมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพิ่มขึ้น
  • มีไหวพริบในการแก้ปัญหา
  • มีมนุษย์สัมพันธ์ ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีผลต่อภาพลักษณ์ในการบริการ
คุณสมบัติ (characteristic) ?
1.คุณสมบัติการบริการ
  • ใส่ใจ สนใจเทคนิคใหม่ๆ ที่นำมาบริการ บรรณารักษ์ *บรรณารักษ์มีผู้ชายเพิ่มขึ้นเพราะเทคโนโลยีมีความเชื่อว่าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีมากกว่าผู้หญิง
  • ต้องใส่ใจพัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพในการบริการอยู่เสมอ
2.คุณสมบัติเจ้าหน้าที่
  • จำเป็นต้องรู้งานทุกงานในห้องสมุด => สำคัญ
  • รู้จัก หรือใส่ใจความต้องการของผู้ใช้
  • readers advisory
  • ถูกต้อง ปรับได้ หยื่ดหยุ่นได้ เชื่อถือได้ แก้ปัญหาได้
งานที่เกี่ยวข้อง (Concerned) ?
1. การยืมและการคืน (Check-in and Check-out) 
  • บริการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุดประเภทต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย
  • กำหนดระยะเวลาในการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ตามนโยบายสถาบัน
  • บริการรับจองสิ่งพิมพ์ที่มีผู้ยืมออก ให้บริการต่ออายุการยืมอัตโนมัติ
  • บริการหนังสือสำรอง
  • บริการตรวจสอบหนังสือ
  • ปรับสิ่งพิมพ์เกินกำหนดส่ง / เสียหาย
  • บริการตอบคำถามชี้แนะข้อมูลแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุด
  • บริการยืมระหว่างห้องสมุด
  • บริการล็อคเกอร์รับฝากสิ่งของ
2. การลงทะเบียนผู้ใช้
  • เพื่อจำแนกว่าใครที่มีสิทธิ์ยืมทรัพยากร หรือมีสิทธิ์ใช้บริการของสถาบันบริการสารสนเทศ
  • เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อสะดวกในการติดต่อกับผู้ใช้
  • เพื่อให้ทราบถึงกลุ่มเป้าหมาย และลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่จะให้บริการ
3. ระบบงานยืมคืนอัตโนมัติ
  • The Integrated Library System-ILS
  • The Automated Library System
  • The Library Automation System  
  • อื่นๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น