วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 26 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 3) เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในการบริการยืม-คืน

เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในการบริการยืม-คืน (Technology)
ห้องสมุดโรงเรียน

              การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานห้องสมุดมีความจำเป็นเพื่อสามารถให้บริการ และบริหารงานห้องสมุดเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยมีบรรณารักษ์ซึ่งมีความรู้ทางด้านบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์เป็นผู้ดำเนินงาน จัดบริการ และบริหารงานต่างๆ  ผู้ใช้บริการห้องสมุดมีความต้องการที่เปลี่ยนไป จากที่เข้าเพื่อสืบค้นหนังสือ และยืมออกไป ี่เข้ามา่เข้ามาเพื่อสืบค้นหนังสือและยืมคืนก็เปลี่ยนเป็นสืบค้นจากที่ใดๆ และะก็เปลี่ยนเป็นสืบค้นจากที่ใดๆ และเข้าไปอ่านข้อมูลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ควรจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่สนใจได้ง่าย

สรุปบทเรียนวันที่ 26 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 2) ค่าปรับ

ค่าปรับ(Penalty)
ห้องสมุดเคลื่อนที่ สานซี ประเทศจีน
              
              การกำหนดค่าปรับของแต่ละห้องสมุด จะมีหลักเกณฑ์ ที่แตกต่างกัน ตามนโยบายของห้องสมุด  ในที่นี้จะกล่าวถึงการกำหนดค่าปรับทั่วไป  คือ  การกำหนดค่าปรับของสารสนเทศประเภทต่างๆ จะมีความแตกต่างกัน  , ค่าปรับการยืมระยะสั้นและการยืมระยะยาว จะแตกต่างกัน     และทางห้องสมุดควรส่งเอกสารเตือนวันส่งล่วงหน้า นอกจากนี้ในการออกกฎระเบียบในการปฏิบัติการต้องมีการเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ด้วย

สรุปบทเรียนวันที่ 26 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 1) บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ

Circulation Service
หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่มาภาพ : http://library.cmu.ac.th/cmul/

              Circulation Service ก็คือบริการยืม-คืน หรือบริการจ่าย-รับ เป็นบริการที่จัดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ มีหน้าที่รับผิดชอบคือการให้บริการยืม รับคืน จอง บริการยืมต่อ ตรวจสอบข้อมูลการยืม-คืน การจัดการระเบียนสมาชิก และการให้บริการทำบัตรสมาชิก การต่ออายุสมาชิก การติดตามทวงถามหนี้สิน บริการตรวจสอบ และรับรองการปลอดหนี้สิน (กรณีนักศึกษาลาพัก/ลาออก/จบการศึกษา) การเก็บเงินค่าปรับ และค่าธรรมเนียมต่างๆ

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 19 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 2) การบริการห้องสมุด

การจัดการพื้นที่อาคารห้องสมุด (Library Building)

ห้องสมุด Herzog August Library, Wolfenbüttel, เยอรมนี
ที่มาภาพ : http://www.mundoyo.com/Journal/?j=1354

อาคาร (Building) ?
             ในปัจจุบันภายนอกอาคารของห้องสมุดต้องโดดเด่น ต้องเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองนั้นๆ ได้ เป็นแหล่งที่ผู้คนไปดูกัน เป็นที่เชิดหน้าชูตา ห้องสมุดต้องเป็นจุดเด่นเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการอยากเข้ามาใช้ ฉะนั้นการออกแบบภายนอกอาคารของห้องสมุดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ หรือภาพลักษณ์ทำให้น่าใช้งาน ไม่เพียงภายนอกอาคารเท่านั้นภายในอาคารก็ต้องมีการตกแต่งให้มีความสวยงาม และที่สำคัญคือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 19 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 1) การบริการห้องสมุด

งานบริการห้องสมุด (Library Services)

ชั้นวางหนังสือ

              ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วัสดุเทป และโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD รวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความสะดวกสืบค้นได้ง่ายตรงกับความต้องการ ห้องสมุดในปัจจุบันทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหา และดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุดห้องสมุด 

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 12 มิ.ย. 2554 การบริการ และการบริการห้องสมุด

การบริการ (Services)

การบริการ
       
              ในปัจจุบันการบริการถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความแตกต่าง และความสามารถในการแข่งขัน การบริการที่มีคุณภาพยังช่วยผูกใจผู้รับบริการไว้ได้ในระยะยาว และเพิ่มคุณค่าให้กับกิจการอีกด้วย การบริการอย่างไร้ทิศทางจากการขาดการวางแผนที่ดีย่อมทำให้กิจการถดถอยลงไปเรื่อยๆ และยากที่จะรักษาลูกค้าเอาไว้ได้ในยุคที่ผู้รับบริการมีทางเลือกมากมายอย่างไม่จำกัด