วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 24 ก.ค. 2554 ตอนที่ 2 สัมมนาวิชาการ

มาตรฐาน Z39.50 Z39.88 มาตรฐานการพัฒนาเว็บไซต์ และmercury z39.50 clients 8

mercury z39.50 clients 8
ที่มาภาพ : http://707045supawan.files.wordpress.com/2011/07/mercury.png
 Z39.50 มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรม
              มีความจริงที่ว่าในห้องเรียนโอกาสที่จะทำงานกับ ILS ยากจึงมีการพัฒนาซอฟต์แวร์จำการทำงานอย่าง mercury z39.50 clients 8 ให้มองว่า mercury z39.50 clients 8 คือ catalogue module ของระบบ innopac ในห้องสมุด มช. ดังนั้นหากต้องหารลงรายการบรรณานุกรมหนังสือก็เป็นเรื่องที่ไม่อยากอีกต่อไปสำหรับบบรรณารักษ์

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 23 ก.ค. 2554 ตอนที่ 1 สัมมนาวิชาการ

สัมมนาวิชาการเรื่อง บริการใหม่ ๆ (New Service)

อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
ที่มาภาพ : http://profile.ak.fbcdn.net/hprofile-ak-snc4/260912_1291930198_3814181_n.jpg
              สัปดาห์ไม่มีการเรียนการสอนแต่มีการสัมมนาวิชาการเรื่องการบริการใหม่ ๆ นี้ได้รับเกรียติจาก อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ ซึ่งก็ได้ความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในงานห้องสมุดว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร อะไรกำลังเป็นที่นิยมอยู่ปัจจุบันนี้ และในอนาคตจะมีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ เข้ามาอีก รวมถึงมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในห้องสมุดว่าต้องเป็นอย่างไร โดยมีการบรรยายทั้งหมด 7 หัวข้อได้แก่
  • Cloud Computing
  • Mobile Device
  • Digital Content & Publishing, eBook, IR, Digital Library
  • Crosswalk Metadata
  • Open Technology
  • Data & Information mining / Visualization
  • Green Library

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 17 ก.ค. 2554 ตอนที่ 2 บริการสอนการใช้

ลักษณะการจัดบริการ (character of service) ?
1.บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction) 
Informal /Point of use Instruction : เป็นการบริการช่วยเหลือผู้ใช้เมื่อผู้ใช้มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ
บริการเฉพาะบุคคล
ที่มาภาพ : http://skvk.comsci.info/cmru/synthesis-com.php
  • บริการสอน/แนะนำการใช้และการค้นคว้า (Library Instruction Services)  : เป็นการจัดการบริการสอน/แนะนำผู้ใช้เกี่ยวกับ หลักการค้นสารสนเทศ การใช้เครื่องมือค้นทรัพยากรสารสนเทศ และสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดบริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถได้มาในสิ่งที่เหมาะสม และตรงต่อความต้องการในการได้มาซึ่งข้อสนเทศ
  • นอกจากนั้นบรรณารักษ์ยังให้บริการครอบคลุมถึงการให้คำแนะนำสิ่งพิมพ์หรือทรัพยากรอื่นที่ออกมาใหม่ และนำเสนอเป็นระยะๆ แก่ผู้ใช้ ห้องสมุดประชาชนให้ความสำคัญของบริการนี้มาก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอ่าน และจัดหาทรัพยากรที่เหมาะสมต่อความต้องการของผู้ใช้

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 17 ก.ค. 2554 ตอนที่ 1 บริการสอนการใช้

บริการสอนการใช้ (Instructional Service)
ครูสอนการใช้โปรแกรมกับนักเรียน
ที่มาภาพ : http://www.princess-it.org/archive/detailshow.php?photoid=20050527193509
              บริการสอนการใช้ห้องสมุด เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญของบรรณารักษ์ ที่จะต้องสอนให้ผู้ใช้ห้องสมุดให้รู้จักใช้ห้องสมุดได้ด้วยตนเอง คือให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด ใช้บริการต่างๆ ของห้องสมุด ใช้หนังสืออ้างอิง ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบทั้งหนังสือ วารสาร จุลสาร เอกสาร กฤตภาค ฐานข้อมูล และอื่นๆ  ตลอดจนรู้จักใช้เครื่องมือ/คู่มือ ในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยต่างๆ  ที่ห้องสมุดจัดหาไว้บริการให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด ทั้งนี้การสอนการใช้ห้องสมุดจะทำให้ผู้ใช้คุ้นเคยกับวัสดุสารสนเทศต่างๆ ในห้องสมุด ผู้ใช้มีทักษะในการที่จะแสวงหาสารสนเทศตามความต้องการได้อย่างอิสระเสรี 

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 10 ก.ค. 2554 บริการตอบคำถาม

บริการตอบคำถาม (Inquiry Service)

บริการตอบคำถาม
ที่มาภาพ : http://liblog.dpu.ac.th/infoservices/?p=130
              บริการตอบคำถามเป็นบริการประเภทหนึ่งของสถาบันบริการสารสนเทศ เกิดขึ้นจากความคิดที่ว่านอกเหนือจากการจัดทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้แล้วควรจะให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการคัดเลือกสารสนเทศที่เหมาะสม งานบริการตอบคำถามเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1891 (Reference and Information Services: An Introduction 1995: 703) บริการตอบคำถามมีการพัฒนาการเป็นลำดับจนกระทั่งปัจจุบันที่มีการจัดให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต จึงกล่าวได้ว่าเป็นบริการที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้อย่างกว้างขวาง

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนวันที่ 26 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 3) เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในการบริการยืม-คืน

เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในการบริการยืม-คืน (Technology)
ห้องสมุดโรงเรียน

              การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานห้องสมุดมีความจำเป็นเพื่อสามารถให้บริการ และบริหารงานห้องสมุดเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยมีบรรณารักษ์ซึ่งมีความรู้ทางด้านบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์เป็นผู้ดำเนินงาน จัดบริการ และบริหารงานต่างๆ  ผู้ใช้บริการห้องสมุดมีความต้องการที่เปลี่ยนไป จากที่เข้าเพื่อสืบค้นหนังสือ และยืมออกไป ี่เข้ามา่เข้ามาเพื่อสืบค้นหนังสือและยืมคืนก็เปลี่ยนเป็นสืบค้นจากที่ใดๆ และะก็เปลี่ยนเป็นสืบค้นจากที่ใดๆ และเข้าไปอ่านข้อมูลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ควรจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่สนใจได้ง่าย

สรุปบทเรียนวันที่ 26 มิ.ย. 2554 (ตอนที่ 2) ค่าปรับ

ค่าปรับ(Penalty)
ห้องสมุดเคลื่อนที่ สานซี ประเทศจีน
              
              การกำหนดค่าปรับของแต่ละห้องสมุด จะมีหลักเกณฑ์ ที่แตกต่างกัน ตามนโยบายของห้องสมุด  ในที่นี้จะกล่าวถึงการกำหนดค่าปรับทั่วไป  คือ  การกำหนดค่าปรับของสารสนเทศประเภทต่างๆ จะมีความแตกต่างกัน  , ค่าปรับการยืมระยะสั้นและการยืมระยะยาว จะแตกต่างกัน     และทางห้องสมุดควรส่งเอกสารเตือนวันส่งล่วงหน้า นอกจากนี้ในการออกกฎระเบียบในการปฏิบัติการต้องมีการเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ด้วย